เมนู

อย่างนี้. อัคคิเวสสนะ ความปริวิตกได้มีแก่เราต่อไปว่า ธรรมนี้ ย่อมไม่
เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบ เพื่อรู้ยิ่ง
เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เป็นไปเพียงอุปบัติแห่งเนวสัญญานาสัญญายตนะเท่า
นั้นเอง. อัคคิเวสสนะ เราไม่พอใจธรรมนั้น เบื่อจากธรรมนั้นหลีกไป
เสีย.
[413] อัคคิเวสสนะ ครั้นเราหลีกไปจากสำนักอุททกดาบสราม
บุตรแล้ว เป็นผู้แสวงหาอยู่ว่าสิ่งไรเป็นกุศล ค้นหาส่วนที่เป็นสิ่งประเสริฐ
ที่ไม่มีสิ่งไรยิ่งกว่า เมื่อเที่ยวจาริกไปโดยลำดับ ในมคธชนบททั้งหลาย
ได้อยู่ที่อุรุเวลาประเทศเสนานิคม ได้เห็นพื้นที่ราบรื่น แนวป่าเขียวเป็น
ทิว เป็นที่โปร่งใจ, แม่น้ำกำลังไหล สีขาวจืดสนิทมีท่าอันดี น่ารื่นรมย์
บ้านโคจรคามตั้งอยู่รอบ. อัคคิเวสสนะ ความปริวิตกได้มีแก่เราว่า
" ภูมิประเทศนี้ ราบรื่นจริงหนอ แนวป่าเขียวเป็นทิว เป็นที่โปร่งใจ
แม่น้ำกำลังไหล สีขาวจืดสนิทมีท่าอันดี เป็นที่รื่นรมย์ บ้านโคจรคามก็ตั้ง
อยู่รอบ. ที่อันนี้สมควรเพื่อจะเป็นที่ตั้งความเพียรของกุลบุตรผู้ตั้งความ
เพียรได้" อัคคิเวสสนะ เราครั้งนั้น ได้หยุดพักอยู่ที่นั้น ด้วยคิดเห็นว่า
" ที่นี้พอแล้วเพื่อจะตั้งความเพียร

อุปมา 3 ข้อ



[414] อัคคิเวสสนะ ที่ตรงนี้มีเรื่องอุปมา 3 ข้อ ไม่น่าอัศจรรย์เราไม่
เคยได้ฟังมาแต่กาลก่อนได้แจ่มแจ้งกะเราแล้ว. อัคคิเวสสนะ เหมือนหนึ่ง
ว่า ไม้สดชุ่มอยู่ด้วยยาง บุคคลตัดแช่น้ำไว้, ยังมีบุรุษหนึ่ง พึงมาเอาไปทำ
เป็นไม้สีไฟ ด้วยคิดว่า เราจักสีให้ไฟเกิด ทำเตโชธาตุให้ปรากฏ ดังนี้
ฉันใด. อัคคิเวสสนะ ท่านจะสำคัญความที่ว่านั้นเป็นไฉน. บุรุษนั้นเมื่อถือเอา
ไม่สดชุ่มอยู่ด้วยยางที่บุคคลตัดแช่น้ำไว้โน้น ทำเป็นไม้สีไฟ สีอยู่ จะพึงให้
เกิดไฟ ทำเตโชธาตุให้ปรากฏขึ้นได้บ้างหรือ.

ส. ไม่ได้เลยข้อนี้ พระโคดม. ข้อนั้น เป็นเพราะเหตุอะไร พระ
โคดม เพราะว่า โน้นก็เป็นไม้สดชุ่มอยู่ด้วยยาง มิหนำแช่น้ำไว้อีก, บุรุษนั้นมิ
ใยสีไป ก็จะมีแต่ส่วนเหนื่อยกาย คับใจเท่านั้นเอง.

พ. อัคคิเวสสนะ อุปมัยก็อย่างสมณะหรือพราหมณ์ พวกใดพวก
หนึ่ง แต่เพียงกายก็ยังหลีกออกจากกาม (คือวัตถุที่น่ารักใคร่) ทั้งหลายไปไม่
ได้แล้วแลอยู่ บรรดากิเลสทั้งหลาย อันมีกามเป็นที่ตั้ง ความพอใจใน
กาม ความเยื่อใยในกาม ความหมกมุ่นในกาม ความกระหายในกาม ความ
กระวนกระวายในกาม ส่วนใดของสมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ส่วน
นั้น ยังไม่ได้ละเสียด้วยดี ยังไม่ได้ระงับซ้ำเสียด้วยดี ณ ภายใน. ถึงหากว่า
ท่านสมณะและพราหมณ์เหล่านั้น จะได้เสวยหรือมิได้เสวย ซึ่งทุกขเวทนา
ที่กล้าแข็ง เผ็ดร้อน อันเกิดเพราะความเพียรก็ดี ก็ไม่ควรเพื่อจะให้เกิดญาณ
ทัสสนะ คือ ปัญญาตรัสรู้อันยอดเยี่ยมขึ้นไปเลย ฉะนั้น. อัคคิเวสสนะ นี้เป็น
อุปมาข้อแรกที่ไม่น่าอัศจรรย์ เราไม่เคยได้ฟังมาแต่กาลก่อน ได้แจ่มแจ้งกะ
เราแล้ว.
[415] อัคคิเวสสนะ ยังอุปมาอื่นอีกเป็นข้อที่สอง ไม่น่าอัศจรรย์ เรา
ไม่เคยได้ฟังมาแต่กาลก่อน ได้แจ่มแจ้งกะเราแล้ว. อัคคิเวสสนะ เหมือน
หนึ่ง ว่า ไม้สดชุ่มอยู่ด้วยยาง บุคคลตัดไว้บนบกไกลน้ำ ยังมีบุรุษคน
หนึ่ง พึงเอาไปทำเป็นไม้สีไฟสีอยู่ ด้วยคิดว่า เราจักสีให้เกิดไฟทำ
เตโชธาตุให้ปรากฏ ดังนี้ฉันใด. อัคคิเวสสนะ ท่านจะสำคัญความที่ว่านั้นเป็น
ไฉน บุรุษนั้น เมื่อถือเอาไม้สดชุ่มอยู่ด้วยยาง ที่บุคคลวางไว้บนบกไกลน้ำ
โน้น ทำเป็นไม้สีไฟ สีอยู่ ยังจะให้ไฟเกิด ปรากฏขึ้นได้บ้างหรือ.
ส. ไม่ได้เหมือนกัน ข้อนี้ พระโคดม. ข้อนั้น เป็นเพราะเหตุ
อะไร พระโคดม เพราะว่า โน้นก็ยังเป็นไม้สดชุ่มอยู่ด้วยยาง ต่างแต่ที่วาง

ไว้บนบกไกลน้ำก็จริง ถึงดังนั้น บุรุษนั้น ก็จะมีแต่ส่วนเหนื่อยกาย
คับใจ เท่านั้นเอง.
พ. อัคคิเวสสนะ อุปมัยก็อย่างสมณะและพราหมณ์ พวกใดพวก
หนึ่ง ได้หลีกออกเสียจากกามแต่เพียงกายอย่างเดียวแล้วแลอยู่, บรรดา
กิเลสทั้งหลายอันมีกามเป็นที่ตั้งคือ ความพอใจในกาม ความเยื่อใยใน
กาม ความหมกมุ่นในกาม ความกระหายในกาม ความกระวนกระวายใน
กามส่วนใด ของสมณะและพราหมณ์เหล่านั้น ส่วนนั้น ยังหาละได้เสียด้วย
ดี ยังหาระงับได้เสียด้วย ณ ภายในไม่. ถึงหากว่าสมณะและพราหมณ์
เหล่านั้น จะได้เสวยหรือมิได้เสวยทุกขเวทนาที่กล้าแข็ง เผ็ดร้อน อันเกิด
เพราะความเพียรก็ดี ก็ไม่ควรเพื่อจะให้เกิดญาณทัสสนะ คือปัญญาตรัสรู้
อย่างยอดเยี่ยมขึ้นได้ฉะนั้น. อัคคิเวสสนะ นี่เป็นอุปมาข้อที่ 2 ที่ไม่น่า
อัศจรรย์ เราไม่เคยได้ฟังมาแต่กาลก่อน ได้แจ่มแจ้งกะเราแล้ว.
[416] อัคคิเวสสนะ ยังอุปมาอื่นอีก เป็นข้อที่สาม ไม่น่าอัศจรรย์
เราไม่เคยได้ฟังมาแต่กาลก่อน ได้แจ่มแจ้งกะเราแล้ว. อัคคิเวสสนะ เหมือน
หนึ่งว่า ไม้แห้งผาก บุคคลวางไว้บนบกแต่ไกลน้ำ ยังมีบุรุษคนหนึ่ง พึงไป
เอามาทำเป็นไม้สีไฟ ด้วยคิดว่า เราจะสีให้ไฟเกิด ทำเตโชธาตุ
ให้ปรากฏ ดังนี้ ฉันใด. อัคคิเวสสนะ ท่านจะสำคัญความที่ว่านั้นเป็น
ไฉน บุรุษนั้นถือเอาไม้แห้งผาก ที่วางไว้บนบกไกลแต่น้ำโน้น ทำเป็นไม้สี
ไฟ สีอยู่ คงจะให้ไฟเกิด ทำไฟให้ปรากฏขึ้นได้มิใช่หรือ.
ส. อย่างนั้น พระโคดม. ข้อนั้น เป็นเพราะเหตุอะไร พระ
โคดม เพราะว่าโน้นก็เป็นไม้แห้งผาก ไม้นั้น ยังวางอยู่บนบกไกลแต่น้ำ
อีก.

พ. อัคคิเวสสนะ อุปมัยก็เหมือนสมณะและพราหมณ์ พวกใดพวก
หนึ่ง หลีกออกจากกามทั้งหลายส่วนกายได้แล้วแลอยู่ บรรดากิเลสทั้งหลาย
ที่มีกามเป็นที่ตั้ง คือ ความพอใจในกาม ความเยื่อใยในกาม ความหมกมุ่นใน
กาม ความกระหายในกาม ความกระวนกระวายในกามส่วนใด ของสมณะ
และพราหมณ์เหล่านั้น ส่วนนั้น ก็ละเสียด้วยดี ระงับซ้ำเสียเป็นอันดี
ณ ภายในแล้ว. ถ้าหากว่าสมณะและพราหมณ์เหล่านั้น จะได้เสวยหรือมิได้
เสวยทุกขเวทนาที่กล้าแข็ง เผ็ดร้อน อันเกิดเพราะความเพียรก็ดี สมณะหรือ
พราหมณ์นั้น ก็ควรแท้จริงเพื่อญาณทัสสนะ คือปัญญาตรัสรู้อย่างยอดเยี่ยม
ได้ อัคคิเวสสนะ นี่เป็นอุปมาข้อที่สาม ไม่น่าอัศจรรย์เราไม่เคยได้ฟังมาแต่
กาลก่อน ได้แจ่มแจ้งกะเราแล้ว.
[417] อัคคิเวสสนะ เราะนั้นได้เกิดปริวิตกว่า ถ้ากระไร เราพึงขบ
ฟันไว้ด้วยฟัน, กดเพดานไว้ด้วยลิ้น, ข่มจิตไว้กับจิต บีบไว้แน่นให้ร้อนจัดอยู่
อัคคิเวสสนะ เมื่อเรากำลังขบฟันไว้ด้วยฟัน กดเพดานไว้ด้วยลิ้น ข่มจิตไว้กับ
จิต บีบไว้แน่น ให้ร้อนจัดอยู่ฉะนั้น เหงื่อก็ไหลจากรักแร้. อัคคิเวสสนะ
เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลัง พึงจับบุรุษอันถอยกำลังกว่า ที่ศีรษะหรือ
ที่คอ แล้วจับบีบไว้แน่นให้ร้อนจัด ฉันใด. อัคคิเวสสนะ เมื่อเราแล กำลังขบ
ฟันไว้ด้วยฟัน กดเพดานไว้ด้วยลิ้น ข่มจิตไว้กับจิต บีบไว้แน่น ให้ร้อนจัด
อยู่ เหงื่อก็ไหลจากรักแร้ ฉันนั้นเหมือนกัน. อัคคิเวสสนะ. ก็แต่ความเพียรที่
เราได้เริ่มไว้แล้วยังคงอยู่ จะได้ย่อหย่อนไปหามิได้ สติที่เราได้ตั้งไว้แล้วจะได้
ฟั่นเฟือนไปหามิได้ ก็แต่กายที่เราได้เริ่มตั้งไว้แล้ว ย่อมไม่สงบ, เมื่อกำลัง
ความเพียรที่ให้เกิดทุกข์นั้นแลเจาะแทง (ครอบงำ) แล้ว เราก็มีสติอยู่.
อัคคิเวสสนะ ทุกขเวทนาถึงปานนี้ ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ยังไม่ครอบงำจิตเรา
ตั้งอยู่ได้. อัคคิเวสสนะ. เรานั้นได้มีปริวิตกว่า ถ้ากระไร เราพึงเพ่งฌาน
เอาความไม่หายใจเป็นอารมณ์ทีเดียว อัคคิเวสสนะ เราครั้นปริวิตกดังนั้น

แล้ว จึงได้กลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ทางปากทางจมูก คือหายใจออกและ
หายใจเข้า. อัคคิเวสสนะ ครั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ที่เรากลั้นทางปากและ
ทางจมูกแล้ว เสียงลมที่ออกตามช่องหูดังเหลือประมาณ เสียงลมในลำสูบแห่ง
นายช่างทองกำลังสูบไปมาอยู่ฉันใด อัคคิเวสสนะ ครั้นลมที่เรากลั้นทางปาก
และทางจมูกแล้ว เสียงลมที่ออกตามช่องหู ดังเหลือประมาณก็ฉันนั้น.อัคคิ-
เวสสนะ ก็แต่ความเพียรที่เราได้เริ่มไว้แล้วคงที่อยู่ จะได้ย่อหย่อนไปหามิ
ได้, สติที่เราตั้งไว้ จะได้ฟั่นเฟือนไปก็หามิได้, แต่กายที่เราเริ่มตั้งไว้ ย่อม
ไม่สงบได้, เมื่อกำลังความเพียรที่ให้เกิดทุกข์นั้นนั่นแลเจาะแทงเราอยู่.
อัคคิเวสสนะ ทุกขเวทนาถึงปานนี้ ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ยังไม่ครอบงำ
จิตเราตั้งอยู่ได้. อัคคิเวสสนะ เรานั้นได้มีปริวิตกถึงเรื่องนี้ว่า "ถ้ากระ
ไร เราพึงเพ่งฌาน เอาความไม่หายใจเป็นอารมณ์นั่นแล." อัคคิเวสสนะ
ครั้นเราปริวิตกฉะนั้นแล้ว ได้กลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะไว้ ทั้งทางปากทาง
จมูกและช่องหู. อัคคิเวสสนะ เมื่อเรากลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะไว้ทางปากทาง
จมูกและช่องหูแล้ว ลมกล้าเหลือประมาณ ก็ไปดังในสมอง. อัคคิเวสสนะ
เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลัง เอาเหล็กแหลมอันคมทิ่มสมองฉันใด. อัคคิเวส
สนะ. เมื่อเรากลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ทั้งทางปากทางจมูกและทางหู
แล้ว ลมกล้าเหลือประมาณ ก็ดังในสมองฉันนั้น. อัคคิเวสสนะ ก็แต่ความ
เพียรที่เราได้เริ่มไว้แล้ว คงที่อยู่ จะได้ย่อหย่อนไปหามิได้, สติที่เราตั้งไว้จะ
ได้ฟั่นเฟือนไปก็หามิได้, แต่กายที่เราเริ่มตั้งไว้ ย่อมไม่สงบ, เมื่อกำลังความ
เพียรที่ให้เกิดทุกข์นั้นแลเจาะแทงเราอยู่. อัคคิเวสสนะ ทุกขเวทนาถึง
ปานนี้ เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ยังไม่ครอบงำจิตตั้งอยู่ได้.

ความต่างกันในการบำเพ็ญทุกกรกิริยา



[418] อัคคิเวสสนะ เรานั้นได้มีปริวิตกถึงเรื่องนี้ว่า ถ้ากระไร เรา
พึงเพ่งฌาน เอาความไม่หายใจเป็นอารมณ์อยู่นั่นแล. อัคคิเวสสนะ ครั้น
เราปริวิตกฉะนั้นแล้ว ได้กลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะไว้ ทั้งทางปากทางจมูก
และทางหู. อัคคิเวสสนะ เมื่อเรากลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ทั้งทางปากทาง
จมูกและทางหู ก็ให้ปวดศีรษะเหลือทน. อัคคิเวสสนะ เปรียบเหมือนบุรุษมี
กำลัง พึงรัดศีรษะด้วยเส้นเชือกแน่นฉันใด อัคคิเวสสนะ เมื่อเรากลั้นลม
อัสสาสะปัสสาสะ ทางปากทางจมูกและทางหูแล้ว ก็ให้ปวดศีรษะเหลือทน.
ฉันนั้น. อัคคิเวสสนะ ก็แต่ความเพียรที่เราได้เริ่มไว้แล้ว คงที่อยู่จะได้ย่อ
หย่อนไปหามิได้, สติที่เราตั้งไว้ จะได้ฟั่นเฟือนไปก็หามิได้ แต่กายที่เราเริ่ม
ตั้งไว้ย่อมไม่สงบ, เมื่อกำลังความเพียรที่ให้เกิดทุกข์นั่นแลเจาะแทงเรา
อยู่. อัคคิเวสสนะ ทุกขเวทนาถึงปานนี้ ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ยังไม่ครอบงำจิต
เราตั้งอยู่ได้.
[419] อัคคิเวสสนะ เรานั้นได้มีปริวิตกถึงเรื่องนี้ว่า ถ้ากระไร เราพึง
เพ่งฌาน เอาความไม่หายใจเป็นอารมณ์อยู่นั่นแล. อัคคิเวสสนะ ครั้นเรา
มีปริวิตกฉะนั้นแล้ว ได้กลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะไว้ ทางปากทางจมูกและ
ทางหู. อัคคิเวสสนะ เมื่อเรากลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ. ทั้งทางปากทางจมูก
ทางหูแล้ว ลมกล้าเหลือประมาณก็เสียดแทงท้อง. อัคคิเวสสนะ เปรียบเหมือน
นายโคฆาฏ หรือลูกมือนายโคฆาฏ ที่เป็นคนฉลาด พึงเชือดพื้นอุทรด้วยมีด
สำหรับเชือดโคอันคม ฉันใด. อัคคิเวสสนะ เมื่อเรากลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ
ทางปากทางจมูกและทางหู ลมกล้าเหลือประมาณก็เสียดแทงท้องฉัน
นั้น. อัคคิเวสสนะ ก็แต่ความเพียรที่เราได้เริ่มไว้แล้วยังคงที่อยู่ จะได้ย่อหย่อน
ไปหามิได้, สติที่เราตั้งไว้จะได้ฟั่นเฟือนไปก็หามิได้, แต่กายที่เราเริ่มตั้ง